PRE-TEST ต้องได้เท่าไหร่ ถึงจะสอบติด

พรีเทสสาธิตปี 2566 

สอบ Pre-test “สาธิตประสานมิตร”
👉Trilingual Plus+
วันที่รับสมัคร ::  2/10/66 – 10/11/66
วันที่สอบ ::  26/11/66
วันที่ประกาศผล ::  1/12/66
👉 ปกติ
วันที่รับสมัคร ::  27/11/66 – 15/12/66
วันที่สอบ :: 23/12/66
วันที่ประกาศผล :: 5/1/67
สอบ Pre-test “สาธิตปทุมวัน”
👉ปกติ และ EPTS
วันที่รับสมัคร ::  4/10/66 – 18/10/66
วันที่สอบ ::  26/11/66
วันที่ประกาศผล ::  14/12/66


คะแนน พรีเทส ของ Trilingual Plus+ สาธิตประสานมิตร
คนเข้าสอบทั้งหมด 1,188 คน
ป. 6 = 704 คน
ป. 5 = 405 คน
ป. 4 = 79 คน


คะแนน พรีเทส ของปกติ สาธิตประสานมิตร

คนเข้าสอบทั้งหมด 1,982 คน
ป. 6 = 1,261 คน
ป. 5 = 596 คน
ป. 4 = 125 คน


คะแนน พรีเทส ปกติ/EPTS สาธิตปทุมวัน

คนเข้าสอบทั้งหมด 2,065 คน
ช่วงเช้า  2,065 คน
ช่วงบ่าย  1,881 คน

คนที่ไม่ได้สอบภาษาอังกฤษช่วงบ่าย 184 คน

การสอบ pretest ในปี 2566 จะเห็นว่า วันสอบ Pre-test  Trilingual Plus+  สาธิตประสานมิตร ตรงกับวันสอบ Pre-test สาธิตปทุมวัน
น้องๆชั้นป. 4-6 สามารถเลือกไปสอบ 1 ใน 2 โรงเรียนนี้ โดยเมื่อดูจากจำนวนผู้เข้าสอบสาธิตปทุมวันมีจำนวนผู้เข้าสอบ เกือบจะ 2 เท่าของ Trilingual Plus+  สาธิตประสานมิตร

การสอบ Pre-test สาธิตปทุมวันน้องๆทุกคนสามารถสอบได้ 5 วิชา แบ่งเป็น 2 ช่วง
1.  ช่วงเช้า น้องๆทุกคนเข้าสอบ คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ ภาษาไทยและสังคมศึกษา
2.  ช่วงบ่าย  วิชาภาษาอังกฤษ (น้องคนไหนจะสอบหรือไม่สอบก็ได้) ในปีนี้ช่วงบ่ายจะมีน้องไม่สอบภาษาอังกฤษจำนวน 184 คน

คะแนน Pre-test ของสาธิตปทุมวันที่ออกมาจะเห็นว่ามีคะแนน T จำนวน 2 ค่า คือ
1.  ค่าที่ 1   จะเป็นลำดับที่ของ 4 วิชา  กรณีน้องสอบภาคปกติ จะคิด ค่า T รวม มาจากคณิตวิทย์ ไทยและสังคม  weight แต่ละวิชาเท่ากัน
2. ค่าที่ 2  จะคิดภาษาอังกฤษเข้ามาด้วย จรวมเป็นครบทั้ง 5 วิชา สำหรับน้องที่สอบเข้า EP TS 

เพื่อให้ผู้ปกครองประเมินคร่าวๆได้ว่าน้องมีโอกาสสอบในแต่ละโปรแกรม ได้มากน้อยแค่ไหน
ดูจากคะแนน Pre-test  จะได้ไปเลือกโปรแกรมตอนสอบจริง (สอบจริงเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)


จำนวนข้อสอบ


1. วิชาคณิตศาสตร์

สาธิตประสานมิตร  20 ข้อ  เวลา 50 นาที
สาธิตปทุมวัน 25 ข้อ เวลา 60 นาที
2.  วิชาวิทยาศาสตร์
สาธิตประสานมิตร 40 ข้อ  เวลา  50 นาที
สาธิตปทุมวัน 50 ข้อ เวลา  45 นาที
3. วิชาภาษาไทย
สาธิตประสานมิตร 40 ข้อ เวลา  30 นาที
สาธิตปทุมวัน 50 ข้อ เวลา  45 นาที
**ทั้ง 3 วิชาของสาธิตประสานมิตรและสาธิตปทุมวัน
จะสอบเหมือนกันคือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย
แต่จำนวนข้อสอบและเวลาที่ใช้ทำข้อสอบจะแตกต่างกัน
——
4.  วิชาภาษาอังกฤษ
สาธิตประสานมิตร 40 ข้อ เวลา 40 นาที
สาธิตปทุมวัน 100 ข้อ เวลา  100 นาที
เพิ่มเติม
1.  สาธิตประสานมิตร Trilingual Plus+ 
วิทย์- คณิต (ฉบับภาษาอังกฤษ) หรือ Science and math 40 ข้อ เวลา 40 นาที
2.  สาธิตปทุมวัน
วิชาสังคม 50 ข้อ เวลา 45 นาที
 

ก่อนเราจะดูคะแนน Pre-test  สิ่งแรกที่เราต้องทำความรู้จัก คือ คะแนน T
อ่านรายละเอียด วิธีการคำนวนค่า T ได้ที่นี่

แล้วค่า T = 65 น้องต้องทำได้กี่คะแนน?

ถ้าย้อนกลับไปที่ค่า T จะคำนวณมาจากค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบของน้องทุกคนที่เข้าสอบ จากค่าเฉลี่ย —> Z —-> T

ดังนั้นเอาคะแนนดิบของทุกคน มาแปลงเป็นค่าเฉลี่ย และ เปลี่ยนแปลงเป็นค่า Z และจากค่า Z เปลี่ยนเป็นค่า T

สมมติเด็กชาย A สอบวิชาวิทยาศาสตร์ได้ 19.13 คะแนน (ประมาณ 19 คะแนน)
ค่า T =  50 (เบี่ยงเบนปกติ ค่าเฉลี่ยจะอยู่ตรงกลางพอดีเป๊ะ)

เด็กชาย A ได้วิทยาศาสตร์ 19 คะแนน ค่า T = 50 (ปี 2565)
เด็กชาย A ได้วิทยาศาสตร์ 19 คะแนน ค่า T = 50 กว่าๆ แน่นอน (ปี 2566)
(เพราะ T = 50 จะอยู่ที่วิทยาศาสตร์ = 16.83 คะแนน)
แต่เด็กชาย A ได้คะแนนมากกว่า 16.83 ยังไงค่า T ก็ต้องมากกว่า 50 

จะเห็นว่าได้คะแนนวิทยาศาสตร์ 19 เท่ากันเป๊ะ แต่ค่า T ก็ไม่เท่ากันในปี 2565 และ 2566
เพราะฉะนั้นตอบได้ไหมว่าควรได้กี่คะแนน ถึงค่า T = 65 
ถ้าใครตอบได้แบบเป๊ะ คือเทพแล้วนะ เพราะเราไม่มีทางรู้คะแนนเฉลี่ยในแต่ละปีเลย ว่าแต่ละคนได้กี่คะแนน 

ถ้าเราได้คะแนนเยอะค่า T ก็เยอะตามไปด้วยไหม
## ใช่ กรณีที่เปรียบเทียบในปีเดียวกัน วิชาเดียวกัน กลุ่มคนเหมือนกัน
##ไม่ใช่ กรณีเปรียบเทียบข้ามปี เอาปีที่แล้วมาอ้างอิง ว่าต้องได้เท่านี้ข้อ เท่านั้นข้อ ถึงจะตอบติด เราไม่สามารถรู้ได้เลย
กรณีตัวอย่างด้านล้าง

ทำข้อสอบเลขได้ 19 ข้อ กับ ทำข้อสอบเลขได้ 25 ข้อ 
ค่า T ของ 25 ข้อ ยังน้อยกว่า ค่า T ของ 19 ข้อ

สรุปถ้าอยากได้  T = 65 ต้องได้กี่คะแนนล่ะ?
## แต่ละปีไม่เท่ากัน แล้วแต่ค่าเฉลี่ยในปีนั้นๆ ข้อสอบง่าย หรือข้อสอบยาก เด็กส่วนใหญ่ได้กี่คะแนน ถ้าบอกว่าได้ 80% ของข้อสอบ ถ้าข้อสอบง่ายมาก การได้ 80% ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้ T = 65 เสมอไป ดังเหตุผลด้านบนด้านบนที่กล่าวไป

แนะนำหลังรู้คะแนน Pre-Test แล้ว
## เราจะรู้ว่าวิชาไหนไม่ถึงเกณฑ์ และวิชาไหนที่ถึงเกณฑ์แล้ว ช่วงโค้งสุดท้าย จะมีเสริมจุดแข็งและพัฒนาจุดอ่อน ลองแบ่งตารางอ่านหนังสือ เพื่อเสริมทั้งจุดไปพร้อมๆกัน วิชาไหนที่คะแนนเยอะแล้ว ก็ทำให้ดียิ่งขึ้นไป วิชาที่น้องทำได้ วิชาที่น้องถนัด ยิ่งเพิ่มความมั่นใจ ยิ่งฉุดคะแนนขึ้น และเอาคะแนนมาเยียวยาวิชาอื่นๆที่ได้คะแนนน้อยได้

วิชาไหนที่คะแนนน้อย อ่านเพิ่มเติม ทบทวนและทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม ดึงคะแนนตัวเองขึ้นมาไม้ให้หลุดค่าเฉลี่ยจนถึงเกินค่าเฉลี่ยให้ได้ จะได้ไม่ไปฉุดวิชาคะแนนอื่นๆมาก วิชาไหนที่น้องถนัดรีบอ่านให้จบก่อน แล้วรีบมาวิชาที่ไม่ถนัด อ่าน จน note เป็นของตัวเอง ทำโ๗ทย์ซ้ำๆด้วยตัวเองหลายๆรอบ จะช่วยเพิ่มคะแนนในช่วงโค้งสุดท้ายได้มาก ก่อนวันสอบเข้าม.1ของจริง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์ bigbrain ใช้เทคโนโลยี cookie เพื่อใช้จดจำการเข้าสู่ระบบของท่าน และเพื่อเสนอข้อมูลที่ท่านต้องการ กรุณากดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่อยอมรับการใช้ cookie